มูลนิธิคุณแม่จินตนา ธนาลงกรณ์

บริษัทให้ความสำคัญเกี่ยวกับการศึกษาสำหรับผู้ด้อยโอกาส ให้ได้รับโอกาสทางการศึกษาที่ทั่วถึง โดยมอบทุนการศึกษาในระดับประถมศึกษาถึงอุดมศึกษา รวมถึงผู้ด้อยโอกาสทางการศึกษาด้านสภาพร่างกาย หรือผู้ทุพพลภาพ อันเป็นการส่งเสริมให้เยาวชนและบุคคลดังกล่าวมีโอกาสได้ศึกษาเล่าเรียน และนำความรู้มาช่วยพัฒนาสังคมและประเทศชาติ เพื่อเป็นกำลังสำคัญของประเทศในอนาคต ซึ่งเริ่มจากการส่งเสริมการศึกษาบุตรหลานและพนักงานภายในองค์กร โดย“ทุนอดุลย์-จินตนา ธนาลงกรณ์” และขยายผลการสนับสนุนด้านการศึกษาโดยการก่อตั้งมูลนิธิ “คุณแม่จินตนา ธนาลงกรณ์” ขึ้นเมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2552 โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้

ส่งเสริมและสนับสนุนกิจกรรมด้านการศึกษา
ให้ทุนช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาสและ/หรือ นักเรียน นิสิต นักศึกษาที่เรียนดี แต่ขาดแคลนทุนทรัพย์
ไม่แสวงหาผลประโยชน์หรือผลกำไรใดๆ ทั้งสิ้นจากมูลนิธิฯ
ร่วมมือกับองค์กรการกุศลอื่น ๆ เพื่อสาธารณประโยชน์
ไม่ดำเนินกิจการเกี่ยวข้องกับการเมือง ไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น

เป้าหมายการดำเนินงาน ปี 2566

สนับสนุนทุนการศึกษาสำหรับนักเรียน/นักศึกษาทั่วไป ในระดับชั้นประถมศึกษา-อุดมศึกษา จำนวน 88 ทุน
สนับสนุนทุนการศึกษาเพื่อสถานศึกษาสำหรับผู้ทุพพลภาพ จำนวน 1 สถาบัน
สนับสนุนทุนการศึกษาเพื่อการศึกษาต่อเนื่อง ในระดับชั้นการศึกษามัธยมศึกษาปีที่ 4 จนถึงระดับอุดมศึกษา ซึ่งจะสนับสนุนทุนการศึกษาจนถึงระดับชั้นปริญญาตรี จำนวน 30 ทุน

ผลการดำเนินงาน ปี 2566

บริษัทสนับสนุนมูลนิธิฯ จนสามารถบรรลุเป้าหมาย ดังนี้

สนับสนุนทุนการศึกษา
ทุน
สำหรับนักเรียน/นักศึกษาทั่วไป ในระดับชั้นประถมศึกษา-อุดมศึกษา จำนวน 792,000 บาท
สถาบัน
สนับสนุนทุนการศึกษาเพื่อสถานศึกษาสำหรับผู้ทุพพลภาพ จำนวน 200,000 บาท
ทุน
สนับสนุนทุนการศึกษาเพื่อการศึกษาต่อเนื่อง ในระดับชั้นการศึกษามัธยมศึกษาปีที่ 4 จนถึงระดับอุดมศึกษา ซึ่งจะสนับสนุนทุนการศึกษาจนถึงระดับชั้นปริญญาตรี
รวมจำนวนทั้งสิ้น
ทุน
และมียอดเงินสนับสนุนทุนการศึกษา 1,546,000 บาท

Sewing Cup Sewing Heart เย็บเต้ารวมใจ สู้ภัยมะเร็ง

บริษัท ซาบีน่า จำกัด (มหาชน) ในฐานะผู้นำธุรกิจผลิตและจัดจำหน่ายชุดชั้นในสำหรับสุภาพสตรี ซึ่งมีความรู้เกี่ยวกับสรีระของคุณสุภาพสตรี ตระหนักถึงภัยจาก “โรคมะเร็งเต้านม” ซึ่งเป็นภัยร้ายแรงที่ผู้หญิงไทยพบมากเป็นอันดับหนึ่ง มีแนวโน้มที่จะเพิ่มมากขึ้นทุกปี เล็งเห็นถึงผลกระทบด้านคุณภาพชีวิต ความยากลำบากและสภาพจิตใจของสุภาพสตรีที่ป่วยเป็นมะเร็งเต้านม จึงปรารถนาที่จะเป็นส่วนหนึ่งในการให้ความช่วยเหลือ แสดงความห่วงใยและเป็นกำลังใจให้สุภาพสตรีที่ได้รับการรักษาด้วยวิธีการตัดเต้านม เติมเต็มสิ่งที่ขาดหายให้สามารถปรับตัว ปรับสมดุล ฝ่าอุปสรรคที่ต้องเผชิญกับโรคและการรักษา ให้มีกำลังใจ เพื่อคืนคุณภาพชีวิตที่ดีให้ผู้ป่วยกลับมาดำเนินชีวิตได้อย่างมีความสุข

เป้าหมายการดำเนินการ ปี 2566

1. ผลิตเต้านมเทียม รองรับความต้องการของผู้ป่วยที่ขาดแคลนเต้านมเทียมทั่วประเทศ จำนวน 35,000 เต้า
2. รณรงค์เหล่าจิตอาสาทั่วประเทศ หน่วยงาน/บริษัท คณะบุคคล นักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไป ให้เข้าร่วมกิจกรรมเย็บเต้านมเทียม โดยตั้งเป้าหมายผู้ร่วมกิจกรรม ประมาณ 20,000 คน
3. เป็นตัวกลางในการมอบเต้านมเทียมเย็บสำเร็จ ให้กับโรงพยาบาลต่างๆที่ขาดแคลน เพื่อส่งมอบให้กับผู้ป่วย จำนวนไม่น้อยกว่า 15,000 คน ต่อปี หรือ 35,000 เต้า

ผลการดำเนินงาน ปี 2566

ผลิตเต้านมเทียม รองรับความต้องการของผู้ป่วยที่ขาดแคลนเต้านมเทียม ทั่วประเทศ จำนวน 35,000 เต้า ภายในปี 2566

ผลิตเต้านมเทียม รองรับความต้องการของผู้ป่วยที่ขาดแคลนเต้านมเทียม
ภายในปี 2566

รณรงค์เหล่าจิตอาสาทั่วประเทศ หน่วยงาน/บริษัท คณะบุคคล นักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไป ให้เข้าร่วมกิจกรรมเย็บเต้านมเทียม จำนวน 20,000 คน

เข้าร่วมกิจกรรม
คน
ในกิจกรรมเย็บเต้านมเทียม

เป็นตัวกลางในการมอบเต้านมเทียมเย็บสำเร็จให้กับโรงพยาบาลต่างๆที่ขาดแคลนเพื่อส่งมอบให้ผู้ป่วยจำนวนไม่น้อยกว่า 15,000 คน ต่อปี หรือ 35,000 เต้า

เป็นตัวกลางในการมอบเต้านมเทียมเย็บสำเร็จให้กับโรงพยาบาล
คน ต่อปี
หรือ 35,000 เต้า

โครงการ “กองทุนอุ่นใจ”

โครงการกองทุนอุ่นใจเป็นโครงการที่จัดตั้งขึ้นเพื่อแบ่งเบาภาระหนี้สินของพนักงาน ที่เป็นหนี้บัตรเครดิต,บัตรกดเงินสด และ/หรือหนี้นอกระบบ อันเนื่องมาจากความจำเป็นต้องใช้เงินในภาวะฉุกเฉินเพื่อการดำรงชีพและในปีที่ที่ผ่านมา ทางกองทุนได้ทำการช่วยเหลือพนักงานที่เดือดร้อน ได้ตรงกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น และมุ่งหวังให้พนักงานที่ได้รับความช่วยเหลือ มีชีวิตที่ดีขึ้นในเรื่องภาระหนี้สิน และพยายามให้ความรู้ ในเรื่องการออมเงินเพื่อส่งเสริมให้พนักงานเริ่มมีความคิดที่จะปรับเปลี่ยนการใช้จ่ายให้ระมัดระวังมากขึ้นจากอดีต จึงได้ตั้งเป้าหมายในปี2566 เพื่อส่งเสริมสนับสนุนการช่วยเหลือพนักงานดังนี้

แบ่งเบาพนักงานในเรื่องภาระหนี้สินบางส่วน/ทั้งหมด
สร้างวินัยทางการเงินเรื่องการออมให้กับพนักงานที่เข้าร่วมโครงการ
ติดตามพนักงานที่ผ่านเข้าร่วมโครงการในเรื่องสภาพการเงินและปัญหาสภาพคล่อง

เป้าหมายการดำเนินการ ปี 2566

ตรวจสอบสภาพการเงินไม่ต่ำกว่า 75% ของพนักงานทั้งหมด
เปิดรับสมาชิก/ให้ความช่วยเหลือ ไม่ต่ำกว่า 75% ของพนักงานที่สมัครเข้าร่วมโครงการ
ติดตามผลการดำเนินการเรื่องการเป็นหนี้ของพนักงานในองค์กร

ผลการดำเนินงาน ปี 2566

จากผลการสำรวจพนักงาน 2,623 คน พบว่า มีพนักงานที่สนใจในการตอบแบบสอบถามคิดเป็น 77.35% และประเมินสภาพทางการเงิน เป็น 3 กลุ่ม ดังนี้

สถานภาพทางการเงินของพนักงานที่ตอบแบบสอบถาม

ในปี 2566 ซึ่งผลที่ได้รับจากจำนวนที่ผ่านการคัดเลือกคิดเป็น
%
ของพนักงานทั้งหมดที่สมัครเข้าร่วมโครงการ

ทางโครงการได้มีการติดตามพนักงานที่ได้รับการช่วยเหลือจากโครงการตั้งแต่ปี2562-ปี2565จำนวนผู้ตอบแบบสอบถาม 43 คน ซึ่งผลที่ได้รับแบ่งออกเป็น
ส่วนหนี้นอกระบบ ก่อนการกู้ยืม เท่ากับ 17 คน หลังได้รับความช่วยเหลือ เท่ากับ 6 คน ซึ่งลดลง 11 คน และหนี้บัตรเครดิตกดเงินสดก่อนการกู้ยืม เท่ากับ 14 คน หลังได้รับการช่วยเหลือ เท่ากับ 23 คน เพิ่มขึ้น 9 คน และคนที่มีหนี้ทั้ง 2ประเภท ก่อนการกู้ยืม เท่ากับ 12 คน หลังการกู้ยืม เท่ากับ 3 คน ซึ่งลดลง 9 คน

หนี้นอกระบบก่อนการกู้ยืม เท่ากับ 17 คน หลังได้รับความช่วยเหลือ เท่ากับ 6 คน ซึ่งลดลง
คน

Learning Organization

จากการที่บริษัทได้มีการประยุกต์ใช้เครื่องมือในการปรับปรุงพัฒนากระบวนการทำงาน การบริหารการผลิต การจัดการคุณภาพ รวมถึงการพัฒนาศักยภาพบุคลากรซึ่งเป็นทรัพยากรที่สำคัญ โดยการอบรม ฝึกปฏิบัติ และให้พนักงานมีส่วนร่วมในการบริหารปรับปรุงงาน และประยุกต์ใช้เครื่องมือการจัดการอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งสร้างจิตสำนึกให้พนักงานเห็นความสำคัญในการทำประโยชน์ต่อสังคม และเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ เพื่อแชร์ประสบการณ์ในการปรับปรุงพัฒนาองค์กรให้กับผู้ที่สนใจทั่วไป ทำให้ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็น และเปิดโอกาสให้นักศึกษาจากสถาบันต่างๆ เข้ามาฝึกงานในองค์กรตามหลักสูตร

เป้าหมาย ปี 2566

พัฒนาศักยภาพบุคลากร
  • ในระดับปฏิบัติการ SGA > 200 คน/ปี
  • ในระดับหัวหน้างาน > 250 คน/ปี
เป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ ( Learning Center )
  • จำนวนสถานศึกษามาฝึกงาน ไม่น้อยกว่า 40 คน
  • ร่วมเป็นวิทยากรพิเศษ กับมหาวิทยาลัย 4 แห่ง
  • เป็นพี่เลี้ยงให้กับโรงงานอุตสาหกรรม SME 1 บริษัท

ผลการดำเนินงาน ปี 2566

พัฒนาศักยภาพบุคลากร
ในระดับปฏิบัติการ
คน
ในระดับหัวหน้างาน
คน
ผลการดำเนินการ ด้านการเป็นศูนย์กลางเรียนรู้ ( Learning Center )
จำนวนนักศึกษาที่มาฝึกงาน
คน
ร่วมเป็นวิทยากรพิเศษ กับมหาวิทยาลัย/สถาบันต่างๆ
แห่ง
เป็นพี่เลี้ยงให้กับโรงงานอุตสาหกรรม SME ปีละ
บริษัท

ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน

บริษัท ให้ความสำคัญในการดูแล เรื่อง ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน เนื่องจากพนักงาน ทุกคนถือเป็น ทรัพยากรที่สำคัญ ดังนั้น เราจึงกำหนด นโยบายแนวปฏิบัติเกี่ยวกับ ความปลอดภัย และสุขอนามัยในสถานที่ทำงาน โดยมุ่งเน้นความปลอดภัย เพื่อสร้างความมั่นใจให้พนักงานสามารถทำงานบนพื้นฐานของความปลอดภัยสูงสุด และให้ความสำคัญ ในเรื่อง การบริหารการจัดการสภาพแวดล้อมในการทำงานให้เหมาะสม เพื่อความปลอดภัย อาชีวอนามัยที่ดี รวมทั้งการดูแลให้พนักงาน มีสุขภาพที่ดี และอัตราการเจ็บป่วยลดลง ซึ่งเป็นการสนับสนุน SDGs ข้อ 3 Good Health and Well Being การมีสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี

เป้าหมายการดำเนินการ ปี 2566

ความปลอดภัยในการทำงาน
มีชั่วโมงการไม่เกิดอุบัติเหตุถึงขั้นหยุดงาน สะสม ทุกโรงงานรวม 5,600,000 ชั่วโมง
สภาพแวดล้อมในการทำงาน
ดูแลสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมและปลอดภัยสำหรับการทำงาน โดยต้องผ่านการตรวจ สภาพแวดล้อมประจำปีในเรื่อง แสง เสียง ความร้อน ฝุ่น สารเคมี ตามกฎหมายกำหนดทุกโรงงาน
สุขภาพพนักงาน
  • เป้าหมายจำนวนพนักงานที่ตรวจสุขภาพ ตามปัจจัยเสี่ยงไม่ต่ำกว่า 93%
  • เป้าหมายพนักงานน้ำหนักปกติ-เกินเล็กน้อยไม่น้อยกว่า 60% ของพนักงานที่ตรวจ
  • เป้าหมายกลุ่มพนักงานที่น้ำหนักเกินตั้งแต่ 30.0 (อ้วนอันตราย) ขึ้นไป ลดลง 20%

ผลการดำเนินงาน ปี 2566

ผลการดำเนินงานด้านความปลอดภัยในการทำงาน

จากการดำเนินงานด้านความปลอดภัยต่างๆ ทำให้ในปี 2566 มีชั่วโมงการไม่เกิดอุบัติเหตุถึงขั้นหยุดงาน คิดเป็น 88 % จากเป้าหมาย 5,600,000 ชั่วโมง

สะสม ทุกโรงงานรวม
ชั่วโมง
ผลการดำเนินงานด้านสภาพแวดล้อมในการทำงาน

ในปี 2566 มีผลการตรวจสภาพแวดล้อมในการทำงาน ที่เกี่ยวกับปัจจัยเสี่ยง - ความร้อน แสง เสียง ฝุ่น และสารเคมี

นอกจากนี้บริษัทได้ตรวจสอบมลภาวะทางอากาศจากกระบวนการขึ้นรูปฟองโมลด์ เพื่อไม่สร้างผลกระทบต่อชุมชน โดยบริษัทที่ได้รับใบอนุญาต และขึ้นทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย มีการตรวจวัดค่าฝุ่นละอองและสารเคมี ประจำปี 2566 พบว่าค่าฝุ่นละอองและสารเคมี (ไซลีน) ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน

โรงงาน สาย 5 ท่าพระ ชัยนาท บุรีรัมย์ ยโสธร
วันที่ตรวจ 7-8/06/66 19/06/66 04/07/66 17/03/66 02/06/66
ผลการตรวจ ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน ผ่าน
ผลการดำเนินงานด้านสุขภาพพนักงาน
ในปี 2566 มีจำนวนพนักงานที่ตรวจสุขภาพตามปัจจัยเสี่ยง
%
ซึ่งดีกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ 93 %
ในปี 2566 มีพนักงานที่มีค่าเฉลี่ย BMI (23.0-24.9) จำนวน
คน
จากทั้งหมด 2,467 คน คิดเป็น 62% ซึ่งดีกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ ไม่น้อยกว่า 60%
ในปี 2566 สามารถลดกลุ่มพนักงานที่น้ำหนักเกินตั้งแต่ 30.0 ขึ้นไป (อ้วนอันตราย) ของปี 2565 ซึ่งมีจำนวน 315 คน ได้จำนวน
คน
ทั้งนี้มีพนักงานลาออกระหว่างปี ทำให้เหลือพนักงาน 289 คน สัดส่วนพนักงานที่ปรับลด ค่า BMI ได้ คิดเป็น 33.21% ซึ่งดีกว่าเป้าหมายต้องปรับลด 20%

การเคารพสิทธิมนุษยชน

บริษัทฯตระหนักถึงความสำคัญของคุณค่าความเป็นมนุษย์ สิทธิและเสรีภาพขั้นพื้นฐาน ซึ่งกล่าวถึงความมีศักดิ์ศรี ความยุติธรรม ความเท่าเทียมกัน การเคารพซึ่งกันและกัน และความเป็นอิสระ โดยไม่คำนึงถึง เชื้อชาติ เพศ ศาสนา สีผิว อายุ การศึกษา ภาษา และความคิดเห็นต่าง จึงมุ่งเน้นการดำเนินการด้านไม่เลือกปฏิบัติและให้โอกาสเท่าเทียมกัน การสนับสนุนและส่งเสริมโดยการให้อิสระทางด้านความคิด การแสดงความคิดเห็นของพนักงานในองค์กรผ่านช่องทางต่างๆ การดูแลสภาพแวดล้อมในการทำงานและความปลอดภัยขั้นพื้นฐาน รวมถึงการไม่ละเมิดสิทธิมนุษยชนในมิติต่างๆ ของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย คือ พนักงานและกลุ่มเปราะบาง คู่ค้า ลูกค้า และชุมชน

เป้าหมาย ปี 2566

ไม่มีการร้องเรียนการละเมิดสิทธิมนุษยชนภายในบริษัท พนักงาน กลุ่มเปราะบาง คู่ค้า ลูกค้า และชุมชน
ไม่เลือกปฏิบัติโดยการให้โอกาส ในการจ้างงาน และ มีการประเมินผลการปฏิบัติงานอย่างเป็นธรรม
ให้อิสระและสนับสนุนการแสดงความคิดเห็น ผ่านคณะกรรมการฯและช่องทางอื่นๆ
ดำเนินการด้านสภาพแวดล้อมในการทำงานและความปลอดภัยขั้นพื้นฐาน เพื่อผ่านการประเมินความพึงใจสิทธิขึ้นพื้นฐาน 70%
ให้ความคุ้มครองและไม่ละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล ตามข้อกำหนด PDPA ทั้งในส่วนของพนักงาน และผู้เกี่ยวข้องอื่นๆ

สรุปผลการดำเนินงาน ด้านสิทธิมนุษยชน ปี 2566

ในปี 2566 ไม่มีการร้องเรียนการละเมิดสิทธิมนุษยชนภายในบริษัท พนักงาน กลุ่มเปราะบาง คู่ค้า ลูกค้า และชุมชน จากการดำเนินงานของบริษัทซาบีน่า

ไม่มีการร้องเรียน
การละเมิดสิทธิมนุษยชน

ไม่เลือกปฏิบัติโดยการให้โอกาสในการจ้างงาน สวัสดิการ และมีการประเมินผลการปฏิบัติงานอย่างเป็นธรรม ซึ่งพนักงานได้รับการประเมินตามผลการปฏิบัติงาน โดยไม่เลือกปฏิบัติตาม เพศ อายุ สถานะ เชื้อชาติ ศาสนา รวมทั้งกลุ่มเปราะบาง ซึ่งประกอบด้วยพนักงานพิการ-พนักงานตั้งครรภ์ และพนักงานที่มีปัญหาสุขภาพ

ให้อิสระและสนับสนุนการแสดงความคิดเห็น ผ่านคณะกรรมการฯและช่องทางอื่นๆ โดยในปี 2566 บริษัทดำเนินการจัดการเลือกตั้งคณะกรรมการสวัสดิการ และคณะกรรมการความปลอดภัยดังนี้

โรงงาน คณะกรรมการสวัสดิการ คณะกรรมการความปลอดภัย
วันที่เลือกตั้ง จำนวนผู้ใช้สิทธิ์ วันที่เลือกตั้ง จำนวนผู้ใช้สิทธิ์
สำนักงาน แต่งตั้งวันที่ 2 ธ.ค. 2565 ผู้สมัครครบจำนวนพอดี แต่งตั้งวันที่ 2 ธ.ค. 2565 ผู้สมัครครบจำนวนพอดี
สาย 5 28 ธ.ค. 2565 89.00% 21 ก.ค. 2566 98.18%
ท่าพระ 21 ก.พ. 2566 94.49% แต่งตั้งวันที่ 4 ต.ค. 2565 ผู้สมัครครบจำนวนพอดี
ชัยนาท 20 พ.ค. 2565 99.10% แต่งตั้งวันที่ 1 ต.ค. 2565 ผู้สมัครครบจำนวนพอดี
ยโสธร 20 ก.ค. 2566 95.20 % แต่งตั้งวันที่ 1 ธ.ค. 2565 ผู้สมัครครบจำนวนพอดี
บุรีรัมย์ แต่งตั้งวันที่ 26 พ.ย. 2564 ผู้สมัครครบจำนวนพอดี แต่งตั้งวันที่ 10 ส.ค. 2565 ผู้สมัครครบจำนวนพอดี

ในปี 2566 มีการประเมินความพึงพอใจ ด้านสภาพแวดล้อมในการทำงานและความปลอดภัยภายในโรงงาน ซึ่งมีผลการประเมินเฉลี่ยเกิน 70% เป็นส่วนใหญ่

ผลการประเมินเฉลี่ยเกิน
%
เป็นส่วนใหญ่
ไม่พบการละเมิดข้อมูลส่วนบุคคล
ตามข้อกำหนด PDPA ทั้งในส่วนของพนักงาน และผู้เกี่ยวข้องอื่นๆ
จาการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน ทำให้ได้รับรางวัลต่างๆ ด้านสิทธิมนุษยชน ดังนี้
ได้รับรองมาตรฐานแรงงานไทย
ได้รับรองมาตรฐาน Wrap
ได้รับรองมาตรฐาน SEDEX
ได้รับรางวัลองค์กรต้นแบบความยั่งยืน ตลาดทุนไทยด้านการสนับสนุนคนพิการ
ได้รับรางวัลสถานประกอบกิจการด้านแรงงานสัมพันธ์และสวัสดิการแรงงานดีเด่น