การประกอบกิจการตามแนวนโยบายการต่อต้านทุจริตคอร์รัปชัน

ความมุ่งมั่นและเป้าหมาย

บริษัทฯ และบริษัทย่อย มีนโยบายในการดำเนินธุรกิจอย่างถูกต้อง โปร่งใส โดยคำนึงถึงประโยชน์ขององค์กรเป็นหลัก ไม่สนับสนุนการดำเนินการที่มีลักษณะเป็นการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา ไม่สนับสนุนทางด้านการเมือง หรือไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง โดยคณะกรรมการบริษัท ของบริษัทฯ และบริษัทย่อย กำหนดนโยบายที่เน้นการมีส่วนร่วมของทุกคนในองค์กร ให้ตระหนักถึงผลเสียของการทุจริตคอร์รัปชัน, มุ่งมั่นในการดำเนินธุรกิจด้วยความโปร่งใส ไม่แสวงหาผลประโยชน์หรือผลกำไรใด ๆ ที่นำไปสู่การทุจริตคอร์รัปชัน และกำหนดนโยบายเกี่ยวกับการรับ การให้ของขวัญ ทรัพย์สิน หรือผลประโยชน์อื่นใด และการเลี้ยงรับรอง รวมทั้งขั้นตอนและระบบควบคุมที่สามารถตรวจสอบได้ เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายที่บริษัทฯ และบริษัทย่อยกำหนดไว้ และไม่นำไปสู่การทุจริตคอร์รัปชัน รวมถึงการสร้างค่านิยมที่ดี โดยไม่ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อความเสียหายของกิจการ และกำหนดให้บุคลากรของบริษัทฯ และบริษัทย่อย ทุกคนปฏิบัติตามนโยบายดังกล่าวอย่างเคร่งครัด อีกทั้งยังส่งพนักงานเข้าร่วมอบรมหลักสูตรที่เกี่ยวกับการป้องกันการทุจริตคอร์รัปชันที่จัดโดยสถาบันต่าง ๆ เพื่อศึกษา ทบทวน และพัฒนาการเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการต่อต้านทุจริตคอร์รัปชันของบริษัทฯ และบริษัทย่อย

ระดับที่ 1: มีนโยบาย (Committed)

เพื่อเป็นแนวทางหรือคำมุ่งมั่นที่จะปฏิบัติร่วมกันและไปให้ถึงเป้าหมายร่วมกันเกี่ยวกับการต่อต้านทุจริตคอร์รัปชัน

ระดับที่ 2: ประกาศเจตนารมณ์ (Declared)

เป็นการประกาศให้ภายนอกและแนวร่วมปฏิบัติได้ทราบถึงเจตนารมณ์ที่จะปฏิบัติในเรื่องนี้ โดย บริษัท ซาบีน่า จำกัด (มหาชน) ได้ประกาศเจตนารมณ์เพื่อเข้าร่วมแนวร่วมต่อต้านคอร์รัปชันของภาคเอกชนไทย (Thai Private Sector Collective Action Against Corruption หรือ CAC) เมื่อวันที่ 1 กันยายน 2554

ระดับที่ 3: มีมาตรการป้องกัน (Established)

องค์กรจะต้องกำหนดมาตรการต่าง ๆ เพื่อป้องกันทุจริตคอร์รัปชันที่อาจจะเกิดขึ้น เป็นการปฏิบัติโดยกำหนดบรรทัดฐาน (Norm) ให้ทราบโดยทั่วกัน

ระดับที่ 4: ได้รับการรับรอง (Certified)

โดย บริษัท ซาบีน่า จำกัด (มหาชน) ได้ผ่านการรับรองจากแนวร่วมต่อต้านคอร์รัปชันของภาคเอกชนไทย (Thai Private Sector Collective Action Against Corruption หรือ CAC) ว่าเป็นองค์กรที่ต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน และได้รับมอบใบรับรองครั้งแรกเมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2558 ซึ่งจะต้องยื่นขอต่ออายุการรับรองทุก 3 ปี และปัจจุบันได้รับสถานะเป็น Change Agent โดยใช้ตราสัญลักษณ์ 3 ดาว

เป้าหมายการดำเนินการ ปี 2566

รักษาระดับมาตรฐานการดำเนินงานด้านทุจริตคอร์รัปชัน ที่ประเมินโดยโครงการแนวร่วมต่อต้านทุจริตคอร์รัปชันของภาคเอกชนไทย (CAC)
สื่อสาร ให้ความรู้ และประเมินผลความรู้เกี่ยวกับการต่อต้านทุจริตคอร์รัปชัน ให้กับบุคลากรของบริษัทฯ และบริษัทย่อยให้ได้ 100%
สื่อสาร และแสดงเจตนารมณ์ต่อคู่ค้า ในเรื่องการทุจริตคอร์รัปชัน ให้ได้ 100% ของจำนวนคู่ค้าที่มีอยู่ทั้งหมด
เป็นส่วนนึงในการขยายแนวร่วมต่อต้านคอร์รัปชันของภาคเอกชนไทย (Thai Private Sector Collective Action Against Corruption หรือ CAC) โดยเชิญชวนคู่ค้าของบริษัทเข้าร่วมประกาศเจตนารมณ์เป็นสมาชิก CAC ให้ได้อย่างน้อย 10 บริษัท

แนวทางการจัดการ

บริษัทฯ ได้นำนโยบายมาจัดทำมาตรการในทางปฏิบัติโดยให้แต่ละหน่วยงานมีส่วนร่วมในการกำหนดวิธีปฏิบัติของหน่วยงานตนเองเพื่อให้ควบคุมการทำงานได้อย่างเหมาะสม โดยมีแนวทางจากส่วนกลางที่เป็นแนวทางร่วมกันขององค์กร และเพิ่มเติมในส่วนของแต่ละหน่วยงานให้สอดคล้องกับการดำเนินงานอย่างชัดเจนยิ่งขึ้น

และป้องกันการเอื้อประโยชน์ทางธุรกิจ และแรงจูงใจต่อการได้รับสิทธิและผลประโยชน์ในอนาคต คณะกรรมการต่อต้านทุจริตคอร์รัปชัน ได้ร่วมกันจัดทำนโยบายขอความร่วมมืองดการให้และรับของขวัญทุกประเภทในทุกโอกาส (No Gift Policy) โดยส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ให้คู่ค้า จัดทำ Banner เพื่อรณรงค์ และสื่อสารให้กับบุคคลภายนอกและบุคลากรของบริษัทฯ เพื่อสร้างความเข้าใจ และกำหนดแนวปฏิบัติการรับ การให้ของขวัญ ทรัพย์สิน หรือผลประโยชน์อื่นใด และการเลี้ยงรับรอง

หมายเหตุ : เป็นไปตามข้อกำหนดของ GRI ข้อ 205-2 เรื่องการสื่อสารและการฝึกอบรมเกี่ยวกับนโยบายและขั้นตอนการต่อต้านการทุจริต

โดยมีรายละเอียดการดำเนินการ ดังนี้

  • บริษัทฯ และบริษัทย่อย กำหนดนโยบายเกี่ยวกับการรับ การให้ของขวัญ ทรัพย์สิน หรือผลประโยชน์อื่นใดและการเลี้ยงรับรอง เพื่อลดผลกระทบต่อการตัดสินใจในการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความลำบากใจ หรือเป็นผลประโยชน์ขัดกันได้
  • บุคลากรของบริษัทฯ และบริษัทย่อย ปฏิบัติตามนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการต่อต้านทุจริตคอร์รัปชันด้านการการรับการให้ของขวัญ ทรัพย์สิน หรือผลประโยชน์อื่นใด และการเลี้ยงรับรอง อย่างเคร่งครัด ทั้งนี้บริษัทฯ และบริษัทย่อย ไม่ได้มีข้อห้ามการรับ การให้ของขวัญ ที่มีตราสัญลักษณ์ของบริษัทฯ เพื่อเป็นการรักษาสัมพันธภาพทางธุรกิจ หรือกระทำตามประเพณี และศีลธรรมจรรยา โดยของขวัญ ทรัพย์สิน หรือผลประโยชน์อื่นใดไม่ควรเป็นเงินสด หรือเทียบเท่าเงินสดและต้องไม่ใช่สิ่งผิดกฎหมาย
  • การเลี้ยงรับรอง จะต้องไม่มีข้อผูกมัด หรือสร้างภาระให้เกิดความรู้สึกว่าต้องมีการตอบแทนที่เป็นการคอร์รัปชัน และต้องไม่ผิดข้อบังคับ กฎระเบียบ และกฎหมาย
  • กรณีการคัดเลือก การเจรจาต่อรองราคา และการจัดซื้อ จัดหา สินค้า วัตถุดิบ พื้นที่การขาย หรือผลประโยชน์อื่นใดที่ให้กับบริษัทฯ และบริษัทย่อย และไม่เรียกร้องการรับ การให้ของขวัญ ทรัพย์สิน หรือผลประโยชน์อื่นใด และการเลี้ยงรับรอง เพื่อติดสินบนและนำไปสู่การได้รับสิทธิพิเศษที่ไม่ควรได้ หรือการจัดทำสัญญาร่วมกัน รวมทั้งส่งผลให้เจ้าหน้าที่ละเว้นการปฏิบัติตามมาตรฐาน ระเบียบ ข้อบังคับตามที่กำหนดไว้
  • บริษัทฯ และบริษัทย่อย ได้มีการสื่อสาร ประชาสัมพันธ์ ให้กับบุคลากรของบริษัทฯ รวมถึงบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจ เพื่อสร้างความเข้าใจและแนวปฏิบัติการรับ การให้ของขวัญ ทรัพย์สิน หรือผลประโยชน์อื่นใด และการเลี้ยงรับรอง ของบริษัทฯ และบริษัทย่อย
  • บุคลากรของบริษัทฯ และบริษัทย่อย ห้ามให้หรือรับสินบน หรือค่าอำนวยความสะดวกในการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ ทุกชนิด นอกจากนี้การติดต่องานกับภาครัฐ ต้องเป็นไปอย่างโปร่งใส ซื่อสัตย์ และถูกต้องตามกฎหมาย
  • บุคลากรของบริษัทฯ และบริษัทย่อย ต้องไม่ดำเนินธุรกิจใด ๆ ที่อาจก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์กับบริษัทฯ ไม่ว่าจะโดยทางตรงหรือทางอ้อม โดยจะไม่ใช้ตำแหน่งหน้าที่การงานเพื่อแสวงหาประโยชน์เพื่อตนเองและพวกพ้อง และต้องพยายามหลีกเลี่ยงเพื่อไม่ให้เกิดการทำธุรกิจใดๆ ที่เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ที่อาจส่งผลในการตัดสินใจ รวมทั้งการทำธุรกิจ และธุรกรรมใดๆ ทั้งในนามส่วนตัว หรือในนามนิติบุคคลที่ตนมีส่วนได้ ส่วนเสีย
  • บริษัทฯ และบริษัทย่อย มีนโยบายไม่จ้างหรือแต่งตั้งเจ้าหน้าที่รัฐที่ยังดำรงตำแหน่งอยู่เข้ามาปฏิบัติงานภายในบริษัทฯ

จะต้องพึงระวังจุดเสี่ยงดังกล่าว และทำตามกฎระเบียบอย่างเคร่งครัด โดยนำเสนอผลการประเมินต่อ คณะกรรมการตรวจสอบและรายงานต่อคณะกรรมการบริษัททุกไตรมาส อีกทั้งจะต้องรณรงค์และสร้างจิตสำนึกในองค์กร เพื่อร่วมมือกันให้เป็นแนวทางเดียวกันและพัฒนาองค์กรต่อไป

โดยเริ่มจากปี 2562 บริษัทได้เชิญชวนคู่ค้าเข้าร่วมประชุมและรับฟังรายละเอียดโครงการ CAC For SME จำนวน 48 บริษัท โดยเรียนเชิญคุณพนา รัตนบรรณางกูร ตำแหน่ง ผู้อำนวยการโครงการ CAC, CAC For SME เข้ามาให้ความรู้

ทั้งนี้สถานการณ์โควิดทำให้โครงการนี้หยุดชะงักไป หลังจากสถานการณ์โควิดคลี่คลาย จึงเริ่มดำเนินโครงการนี้ต่อเนื่องใน Q4/2565 และยกระดับการดำเนินการ เพื่อให้ผู้เข้าร่วมโครงการ CAC ประกาศเจตนารมณ์การต่อต้านทุจริต (Anti-Corruption) ในปี 2566

มาตรการในการแจ้งเบาะแส ข้อร้องเรียน การกระทำความผิด กฎระเบียบ ข้อบังคับ กฎหมาย จรรยาบรรณ หรือ พฤติกรรมที่อาจก่อให้เกิดการทุจริตคอร์รัปชันหรือประพฤติมิชอบ ของบุคลากรของบริษัทฯ บุคคลที่เกี่ยวข้อง และ ผู้มีส่วนได้เสีย โดยมี ช่องทางการแจ้งข้อร้องเรียนและข้อเสนอแนะ ดังนี้

  • จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ถึง สำนักตรวจสอบภายใน: GRP_AUDIT_HO@sabina.co.th
  • จดหมายส่งไปรษณีย์ถึง สำนักตรวจสอบภายใน: สำนักงานใหญ่ เลขที่ 12 ถนนอรุณอมรินทร์ แขวงอรุณอมรินทร์ เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร 10700
  • Line: @SABINA AUDIT 191
  • ร้องเรียนด้วยวาจาต่อเจ้าหน้าที่สำนักตรวจสอบภายในโดยตรง หรือทางโทรศัพท์ เพื่อให้เจ้าหน้าที่ทำการบันทึกคำข้อมูลร้องเรียนไว้เป็นพยานหลักฐาน: โทรศัพท์: 02-422-9400

มาตรการคุ้มครองผู้ร้องเรียน ดังต่อไปนี้

  • เพื่อเป็นการคุ้มครองสิทธิของผู้ร้องเรียนและผู้ให้ข้อมูลที่กระทำโดยเจตนาสุจริต บริษัทฯ จะปกปิดชื่อ ที่อยู่ หรือข้อมูลใด ๆ ที่สามารถระบุตัวตนของผู้ร้องเรียนหรือผู้ให้ข้อมูลได้ และเก็บรักษาข้อมูลของผู้ร้องเรียนและผู้ให้ข้อมูลไว้เป็นความลับ ซึ่งจะได้รับความคุ้มครองจากการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรม เช่น การเปลี่ยนตำแหน่ง ลักษณะงาน สถานที่ทำงาน สั่งพักงาน ข่มขู่ รบกวนการปฏิบัติงาน เลิกจ้างอันเนื่องมาจากสาเหตุแห่งการแจ้งข้อร้องเรียน เป็นต้น โดยข้อมูลดังกล่าวจะถูกจำกัดเฉพาะ สำนักตรวจสอบภายใน เท่านั้น ที่สามารถดำเนินการตรวจสอบเรื่องร้องเรียนและสามารถเข้าถึงข้อมูลดังกล่าวได้
  • กรณีการร้องเรียนการกระทำผิดของผู้บริหารระดับสูง คณะกรรมการตรวจสอบ จะทำหน้าที่ในการคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแส หรือผู้ร้องเรียน พยาน และบุคคลที่ให้ข้อมูลในการสืบสวนหาข้อเท็จจริง ไม่ให้ได้รับความเดือนร้อน อันตราย หรือความไม่ชอบธรรม อันเกิดมาจากการแจ้งเบาะแส ร้องเรียน การเป็นพยานหรือการให้ข้อมูล โดยขอให้ผู้ร้องเรียนส่งเรื่องร้องเรียนมายังคณะกรรมการตรวจสอบโดยตรง และจะถูกเก็บโดยเลขานุการคณะกรรมการตรวจสอบ เพื่อรายงานคณะกรรมการตรวจสอบโดยตรง

เพื่อให้บุคลากรของบริษัทฯ และบริษัทย่อย บุคคลที่เกี่ยวข้อง และผู้มีส่วนได้เสีย ทราบถึงนโยบายที่เกี่ยวกับมาตรการต่อต้านทุจริตคอร์รัปชัน โดยมีการเผยแพร่ผ่านช่องทาง ดังต่อไปนี้

หน่วยงานภายใน

  • ประกาศผ่านทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ของบริษัทฯ
  • ติดประกาศของบริษัทฯ และบริษัทย่อย ในสถานที่เห็นเด่นชัด
  • ประชาสัมพันธ์เสียงตามสาย
  • Line@ ของบริษัท
  • จัดปฐมนิเทศพนักงานใหม่
  • จัดให้มีการฝึกอบรมหรือสื่อสาร เพื่อเผยแพร่มาตรการต่อต้านคอร์รัปชัน จริยธรรมและจรรยาบรรณธุรกิจ รวมถึงการบริหารความเสี่ยงเป็นประจำทุกปี ให้แก่บุคลากรของบริษัทฯ และบริษัทย่อย ได้รับทราบและเข้าใจ และเน้นย้ำให้ทุกคนปฏิบัติตามมาตรการดังกล่าว

หน่วยงานภายนอก

  • ประกาศผ่านทางเว็บไซต์ของบริษัทฯ
  • แจ้งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์กับทางคู่ค้า
  • รายงานประจำปีของบริษัทฯ (56-1 One Report)

โดยคณะกรรมการบริษัทและบริษัทย่อย กำหนดแนวทางการสอบทานระบบการควบคุมภายใน ประเมินผล และติดตามการปฏิบัติตามนโยบายและมาตรการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชันของบริษัทฯ และกำหนดให้สำนักงานตรวจสอบภายใน ทำหน้าที่สอบทานระบบการควบคุมภายใน (Internal Control) รวมทั้งให้ข้อเสนอแนะอย่างต่อเนื่องในการตรวจสอบประจำปีที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการตรวจสอบ โดยรายงานข้อร้องเรียนต่าง ๆ ที่มีหลักฐานอันควรให้เชื่อว่ามีรายการหรือการกระทำ ซึ่งอาจจะมีผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อฐานะการเงินและผลการดำเนินงานของบริษัทฯ และผลการตรวจสอบที่มีนัยสำคัญ ต่อคณะกรรมการตรวจสอบ และรายงานต่อคณะกรรมการบริษัทตามลำดับ เพื่อดำเนินการปรับปรุงแก้ไขภายในระยะเวลาที่คณะกรรมการตรวจสอบเห็นสมควร

ผลการดำเนินงาน ปี 2566

ดำเนินธุรกิจโดยรักษามาตรฐาน

ตามข้อกำหนดของแนวร่วมต่อต้านคอร์รัปชันของภาคเอกชนไทย (Thai Private Sector Collective Action Against Corruption หรือ CAC) ทั้ง 71 ข้อ ซึ่งมีการสอบทานโดยคณะกรรมการตรวจสอบ ผ่านสำนักตรวจสอบภายใน

ดำเนินการฝึกอบรม

ให้กับบุคลากรของบริษัทฯ และบริษัทย่อย เกี่ยวกับนโยบายและมาตรการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน จริยธรรมและจรรยาบรรณธุรกิจ รวมถึงการบริหารความเสี่ยง โดยในปี 2566 ได้จัดอบรม ดังนี้

  • สำนักงานปิ่นเกล้า จัดอบรมวันที่ 9 ตุลาคม 2566
  • พนักงานขาย (PC) จัดอบรมวันที่ 9 ตุลาคม 2566
  • โรงงานพุทธมณฑลสาย 5 จัดอบรมวันที่ 9 ตุลาคม 2566
  • โรงงานท่าพระ จัดอบรมวันที่ 9 ตุลาคม 2566
  • โรงงานชัยนาท จัดอบรมวันที่ 9 ตุลาคม 2566
  • โรงงานยโสธร จัดอบรมวันที่ 9 ตุลาคม 2566
  • โรงงานบุรีรัมย์ จัดอบรมวันที่ 9 ตุลาคม 2566

ทั้งนี้ได้ดำเนินการจัดฝึกอบรมให้กับบุคลากรของบริษัทฯ ครบทุกโรงงานทุกสำนักงาน ทั้ง 100% ของจำนวนบุคลากรทั้งหมด โดยมีรายละเอียดดังนี้

สาขา 2562 2563 2564 2565 2566
จำนวนพนักงาน (คน) % จำนวนพนักงาน (คน) % จำนวนพนักงาน (คน) % จำนวนพนักงาน (คน) % จำนวนพนักงาน (คน) %
สำนักงานปิ่นเกล้า 350 100% 353 100% 336 100% 352 100% 356 100%
สำนักงานขาย (PC) 1,155 100% 1,078 100% 866 100% 843 100% 841 100%
โรงงานพุทธมณฑลสาย 5 776 100% 645 100% 468 100% 573 100% 596 100%
โรงงานท่าพระ 372 100% 309 100% 238 100% 229 100% 227 100%
โรงงานชัยนาท 531 100% 411 100% 336 100% 349 100% 344 100%
โรงงานยโสธร 1,112 100% 1,008 100% 859 100% 899 100% 886 100%
โรงงานบุรีรัมย์ 307 100% 25 100% 166 100% 179 100% 195 100%
รวม 4,603 4,059 3,269 3,424 3,445

หมายเหตุ : เป็นไปตามข้อกำหนดของ GRI 205-2 เรื่องการสื่อสารและการฝึกอบรมเกี่ยวกับนโยบายและขั้นตอนการต่อต้านการทุจริต

สื่อสารและแสดงเจตนารมณ์ต่อคู่ค้า

ในเรื่องการทุจริตคอร์รัปชัน โดยในปี 2566 บริษัทฯ ได้ส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์แจ้งนโยบายขอความร่วมมืองดการให้และรับของขวัญทุกประเภทในทุกโอกาส (No Gift Policy) ให้กับทางคู่ค้าของบริษัทฯ ทั้งหมด 986 ราย (คิดเป็น 100%)

หมายเหตุ : เป็นไปตามข้อกำหนดของ GRI 205-2 เรื่องการสื่อสารและการฝึกอบรมเกี่ยวกับนโยบายและขั้นตอนการต่อต้านการทุจริต

แนวร่วมต่อต้านคอร์รัปชันของภาคเอกชนไทย (Thai Private Sector Collective Action Against Corruption หรือ CAC)

ในปี 2566 บริษัทฯ ได้ประชาสัมพันธ์ถึงประโยชน์และความสำคัญในการดำเนินธุรกิจตามนโยบายการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน และเชิญชวนคู่ค้าของบริษัทเข้าร่วมประกาศเจตนารมณ์เป็นสมาชิกแนวร่วมต่อต้านคอร์รัปชันของภาคเอกชนไทย (Thai Private Sector Collective Action Against Corruption หรือ CAC) โดยได้รับความสนใจและตอบรับจากคู่ค้าทั้งหมด 10 ราย ได้แก่

  1. บริษัท เท็กซ์โก้ อินดัสเตรียล (ไทยแลนด์) จำกัด
  2. บริษัท เฟมิน่า เลซ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด
  3. ห้างหุ้นส่วนจำกัด ลิเบอร์ตี้พลาสแพค
  4. บริษัท เพ็นน์ เอเชีย จำกัด
  5. บริษัท วงศ์เอก อุตสาหกรรม จำกัด
  6. ห้างหุ้นส่วนจำกัด ชุก เทรดดิ้ง
  7. บริษัท แคปิตอล ทรีคอท จำกัด
  8. บริษัท โคทส เทรด (ประเทศไทย) จำกัด
  9. บริษัท เจมม่า นิต (ประเทศไทย) จำกัด
  10. บริษัท เอเชี่ยน อิโนแอ็ค จำกัด (บางกอกโฟม)

โดยบริษัทฯ ได้รับรางวัล CAC Change Agent Award 2023 ในงาน CAC National Conference 2023 “ ผนึกกำลังไตรภาคี สร้างความแข็งแกร่ง เพื่อความยั่งยืน ”

อีกทั้งในปี 2566 บริษัทฯ ได้เข้าร่วมกิจกรรมจัดทำ Artwork No Gift Policy เพื่อรณรงค์ งดรับ-ให้ ของขวัญ ในช่วงเทศเทศกาลปีใหม่ โดย CAC จะนำ Artwork ไปประชาสัมพันธ์ และเผยแพร่ผ่านทาง Facebook Thai CAC โดยบริษัทใดที่มียอด Like & Share มากที่สุดจะได้รับรางวัลตามลำดับ ซึ่งบริษัท ซาบีน่า จำกัด (มหาชน) ได้รับรางวัลที่ 2 ในกิจกรรมครั้งนี้

ดัชนีข้อมูลตามกรอบการรายงาน GRI Standards Universal Standards

การเปิดเผยข้อมูล หน้า(Annual Report 2566)
GRI 205-2 เรื่องการสื่อสารและการฝึกอบรมเกี่ยวกับนโยบายและขั้นตอนการต่อต้านการทุจริต 484, 485
GRI 301-1 วัสดุที่ใช้โดยน้ำหนักหรือปริมาตร 374
GRI 302-1 การใช้พลังงานภายในองค์กร 336, 347, 348
GRI 302-4 ลดการใช้พลังงาน 338, 339, 340, 343
GRI 302-5 การลดความต้องการพลังงานของผลิตภัณฑ์และบริการ 345
GRI 303-2 การจัดการผลกระทบที่เกี่ยวข้องกับการระบายน้ำ 353, 356, 357
GRI 303-4 การปล่อยน้ำ 357
GRI 303-5 ปริมาณการใช้น้ำ 355, 356, 357
GRI 305-1 การปล่อย GHG ทางตรง 333, 334, 335, 400, 401
GRI 305-2 การปล่อยก๊าซ GHG พลังงานทางอ้อม (ขอบเขต 2) 400, 401
GRI 305-3 การปล่อยก๊าซ GHG ทางอ้อมอื่น ๆ (ขอบเขต 3) 367, 401
GRI 305-5 ลดการปล่อย greenhouse gases หรือก๊าซเรือนกระจกทางอ้อม 399, 402
GRI 306-2 ประเภทของเสียและวิธีการกำจัด 361, 365, 366, 367, 368, 370
GRI 401-1 การจ้างพนักงานใหม่และการ turnover พนักงาน 153
GRI 401-2 ผลประโยชน์ที่มอบให้แก่พนักงานประจำ 154
GRI 401-3 การลาคลอด 153
GRI 402-1 รอบระยะเวลาแจ้งเตือนขั้นต่ำเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงการดำเนินงาน 151
GRI 403-1 ระบบการจัดการอาชีวอนามัยและความปลอดภัย 446
GRI 403-2 การระบุอันตราย การประเมินความเสี่ยง และการสอบสวนเหตุการณ์ 447
GRI 403-3 บริการด้านอาชีวอนามัย 453
GRI 403-5 การฝึกอบรมผู้ปฏิบัติงานด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย 449
GRI 403-6 การส่งเสริมสุขภาพคนงาน 454, 455
GRI 403-9 การบาดเจ็บจากการทำงาน 450
GRI 403-10 เกี่ยวข้องกับการทำงานต่อสุขภาพ 456
GRI 404-1 ชั่วโมงการฝึกอบรมเฉลี่ยต่อปี ต่อพนักงานหนึ่งคน 143
GRI 404-2 โปรแกรมสำหรับยกระดับทักษะของพนักงานและโปรแกรมช่วยเหลือการเปลี่ยนแปลง 142
GRI 404-3 ร้อยละของพนักงานที่ได้รับการทบทวนการปฏิบัติงานและการพัฒนาอาชีพอย่างสม่ำเสมอ 144
GRI 405-1 ความหลากหลายของหน่วยงานกำกับดูแลและพนักงาน 152
GRI 406-1 ไม่มีเหตุการณ์การเลือกปฏิบัติและการดำเนินการแก้ไข 471
GRI 407-1 สิทธิในอิสรภาพจัดตั้งสมาคมและการเจรจาต่อรอง อาจมีความเสี่ยง การปฏิบัติงานและซัพพลายเออร์ 472
GRI 410-1 เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยได้รับการฝึกอบรมเกี่ยวกับนโยบายสิทธิมนุษยชนหรือขั้นตอนปฏิบัติ 461
GRI 412-2 การฝึกอบรมพนักงานเรื่องนโยบายหรือกระบวนการด้านสิทธิมนุษยชน 461
GRI 413-1 การดำเนินการกับการมีส่วนร่วมของชุมชนในท้องถิ่น การประเมินผลกระทบ และโปรแกรมการพัฒนา 358, 359, 369, 370
GRI 418-1 การร้องเรียนที่มีนัยสำคัญเกี่ยวกับการละเมิดความเป็นส่วนตัวของลูกค้า 322

จรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจ

ความมุ่งมั่นและเป้าหมาย

บริษัท ซาบีน่า จำกัด ( มหาชน ) ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายชุดชั้นในสตรี มีความมุ่งมั่นที่จะดำเนินธุรกิจด้วยความซื่อสัตย์ , โปร่งใส ต่อผู้ที่เกี่ยวข้องกับบริษัทฯ ในทุกๆส่วน ทั้งในส่วนของผู้ถือหุ้น , พนักงาน , ลูกค้า , คู่ค้า และ / หรือ เจ้าหนี้ รวมทั้งสังคม และสิ่งแวดล้อม โดยได้มีการกำหนดจรรยาบรรณ ในความรับผิดชอบ ต่อส่วนต่างๆ และมีการถ่ายทอดจรรยาบรรณความรับผิดชอบเหล่านี้ไปยังพนักงานทุกระดับของบริษัทฯ เพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติในการดำเนินธุรกิจอย่างมีจริยธรรม รวมถึงเป็นแนวทางให้กรรมการ ผู้บริหาร และ พนักงานยึดถือปฏิบัติได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมต่อไป

เป้าหมายในการดำเนินงาน ปี 2566

ดูแลให้มีการปฏิบัติตามจริยธรรมและจรรยาบรรณธุรกิจในองค์กร
2. ถ่ายทอดและประชาสัมพันธ์จริยธรรมและจรรยาบรรณธุรกิจให้กรรมการ ผู้บริหารและพนักงานในองค์กรทราบ 100%
3. ทำให้กรรมการ ผู้บริหารและพนักงานเข้าใจจริยธรรมและจรรยาบรรณธุรกิจ โดยวัดผลจากแบบทดสอบที่กำหนดให้ผู้ที่สอบผ่านต้องถึงเกณฑ์ทำได้ร้อยละ 80% ขึ้นไป

การดำเนินการให้มีการปฏิบัติตามจรรยาบรรณธุรกิจ

1. กำหนดให้กรรมการ ผู้บริหาร และ พนักงานทุกคนรับทราบ ทำความเข้าใจ และปฏิบัติตามนโยบายที่กำหนดไว้ในคู่มือจรรยาบรรณนี้อย่างเคร่งครัด ทั้งนี้ผู้ใดกระทำผิดจรรยาบรรณที่กำหนดไว้ จะได้รับโทษทางวินัยอย่างเคร่งครัด และอาจจะได้รับโทษทางกฎหมายหากการกระทำนั้นผิดกฎหมาย
2. จัดให้มีมาตรการในการแจ้งเบาะแส ข้อร้องเรียน การกระทำผิดกฎหมาย จรรยาบรรณ หรือพฤติกรรมที่อาจก่อให้เกิดการทุจริตคอร์รัปชั่นหรือประพฤติมิชอบ ของบุคลากรของบริษัทฯ บุคคลที่เกี่ยวข้อง และผู้มีส่วนได้เสีย รวมทั้งการคุ้มครองผู้ร้องเรียน โดยมีช่องทางการแจ้งข้อร้องเรียนและข้อเสนอแนะ ผ่านฝ่ายตรวจสอบภายใน ซึ่งทำหน้าที่เป็นหน่วยงานรับข้อร้องเรียน และข้อเสนอแนะ
3. คณะกรรมการบริษัท กำหนดให้มีการทบทวน คู่มือจรรยาบรรณธุรกิจ เป็นประจำทุกปี และกำหนดให้มีการรายงานผลการติดตามเกี่ยวกับการปฏิบัติตามจรรยาบรรณอย่างเคร่งครัด เพื่อเสนอต่อคณะกรรมการตรวจสอบและคณะกรรมการบริษัท
4. ดำเนินการอบรมและประชาสัมพันธ์จริยธรรมและจรรยาบรรณธุรกิจของบริษัท ให้กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานในองค์กรรับทราบและเข้าใจ ผ่านการติดบอร์ดประกาศ และจัดทำแผ่นพับ/โปสเตอร์ประชาสัมพันธ์
5. ดำเนินการทวนสอบความรู้และความเข้าใจของกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานทั้งองค์กรในด้านจริยธรรมและจรรยาบรรณธุรกิจโดยการทำแบบทดสอบจากพนักงานทั้งหมด

ผลการดำเนินงาน ปี 2566

การดำเนินงานด้านจริยธรรมและจรรยาบรรณธุรกิจ

จากการดำเนินงานด้านจริยธรรมและจรรยาบรรณธุรกิจในปี 2566 พบว่าเป็นไปตามเป้าหมายในการดูแลให้กรรมการ ผู้บริหาร และ พนักงานทุกคน ปฏิบัติตามจรรยาบรรณธุรกิจที่กำหนด

จรรยาบรรณธุรกิจ

กรรมการ ผู้บริหารและพนักงานในองค์กรได้รับการสื่อสารเกี่ยวกับจรรยาบรรณธุรกิจครบทั้ง 100% ของจำนวนกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานในองค์กร

ร่วมการทำแบบทดสอบ ในด้านจริยธรรมและจรรยาบรรณธุรกิจ

มีผู้ที่เข้าร่วมการทำแบบทดสอบ ในด้านจริยธรรมและจรรยาบรรณธุรกิจ มีจำนวน 3,467 คน จากจำนวน 3,472 คน

คิดเป็น
%
ผลการทดสอบ

ผลการทดสอบในด้านจริยธรรมและจรรยาบรรณธุรกิจ พบว่ามีผู้ที่ผ่านการทดสอบทั้งสิ้น 100% และมีระดับคะแนนเฉลี่ยทั้งหมดอยู่ที่ 9.7 คะแนน จากคะแนนเต็ม 10 คะแนน

ในปีที่ผ่านมา กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงาน ไม่มีผู้ใดฝ่าฝืนและกระทําผิดจริยธรรมและจรรยาบรรณธุรกิจของบริษัทฯ

ผลการทำแบบสอบถามกับผู้มีส่วนได้เสีย

ทางบริษัทฯ ได้มีการทำแบบสอบถามกับผู้มีส่วนได้เสีย ในด้าน ลูกค้า, คู่ค้า/เจ้าหนี้, สังคมและสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวกับจรรยาบรรณในการดำเนินธุรกิจของบริษัท ซึ่งสรุปได้ ดังนี้

ผลประเมินจรรยาบรรณต่อคู่ค้า และ/หรือเจ้าหนี้

จากผลประเมินของคู่ค้า และ/เจ้าหนี้ ทางคู่ค้าและเจ้าหนี้มีความเห็นว่าทางบริษัทฯ มีความซื่อสัตย์ในการดำเนินธุรกิจ และปฏิบัติตามกฎหมายและกติกาต่างๆอย่างเคร่งครัดตามที่ได้กำหนดไว้ในจรรยาบรรณต่อคู่ค้า และ/หรือเจ้าหนี้ในระดับดีมากและดีถึง 100 %

ระดับคะแนน
%
ผลประเมินจรรยาบรรณต่อลูกค้า

จากผลประเมินของลูกค้า ทางลูกค้ามีความเห็นว่าทางบริษัทฯ มีความซื่อสัตย์ในการดำเนินธุรกิจ และคำนึงถึงผลประโยชน์สูงสุดแก่ลูกค้าตามที่ได้กำหนดไว้ในจรรยาบรรณต่อลูกค้าในระดับดีมากและดีถึง 95.4%

ระดับคะแนน
%
ผลประเมินจรรยาบรรณสังคมและสิ่งแวดล้อม

จากผลประเมินของสังคมและสิ่งแวดล้อม ทางชุมชนมีความเห็นว่าทางบริษัทฯ มีความห่วงใยถึงความปลอดภัยของสังคม สิ่งแวดล้อม และคุณภาพชีวิตของประชาชน และให้ความสำคัญในเรื่องการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมตามที่ได้กำหนดไว้ในจรรยาบรรณต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมในระดับดีมากและดีถึง 94.7%

ระดับคะแนน
%