การจัดการพลังงานเชื้อเพลิง
บริษัทซาบีน่า มุ่งมั่นที่จะควบคุมดูแลการจัดการพลังงานเชื้อเพลิง จากกิจกรรมการดำเนินงานของธุรกิจ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและการใช้ประโยชน์จากพลังงานเชื้อเพลิงอย่างคุ้มค่าที่สุด ซึ่งส่งผลทางบวกต่อการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการใช้พลังานเชื้อเพลิงตามความจำเป็น เพื่อให้เป็นไปตามกระบวนทัศน์ “การพัฒนาที่ยั่งยืน” (Sustainable Development Goals–SDGs) ในข้อที่ 13 CLIMATE ACTION
เป้าหมายการดำเนินงาน ปี 2566
ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการใช้เชื้อเพลิงต่อหน่วยในการผลิต > 74,000 Kg.CO2e
- GHG จากการใช้เชื้อเพลิงน้ำมันในการขนส่งอุปกรณ์ตกแต่งร้าน ลด > 4,500 Kg.CO2e (เทียบจาก ลิตร/รายการ)
- GHG จากการใช้เชื้อเพลิงน้ำมันในการขนส่งวัตถุดิบระหว่างโรงงาน ลด > 8,000 Kg.CO2e (เทียบจาก ลิตร/ชิ้น)
- GHG จากการใช้เชื้อเพลิงน้ำมันในการกระจายสินค้าสำเร็จรูป ลด > 41,500 Kg.CO2e (เทียบจาก ลิตร/กล่อง)
- GHG จากการใช้เชื้อเพลิงน้ำมันของฝ่ายบุคคล ลด > 10,000 Kg.CO2e (เทียบจาก ลิตร/ยอดขาย)
- GHG จากการใช้เชื้อเพลิง LPG ในการย้อม ลด > 10,000 Kg.CO2e (เทียบจาก กิโลกรัม/หลา)
ควบคุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการใช้เชื้อเพลิงต่อหน่วยในการขาย < 110,000 Kg.CO2e
- GHG จากการใช้เชื้อเพลิงน้ำมันของฝ่ายขาย เพิ่มไม่เกิน 110,000 Kg.CO2e (เทียบจาก ลิตร/ยอดขาย)
ผลการดำเนินงาน ปี 2566
ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการใช้เชื้อเพลิงต่อหน่วยในการผลิต
การบริหารและปรับปรุงการดำเนินงานในปี 2566 มีการปรับเปลี่ยนการจ่ายค่าน้ำมันฝ่ายขายผ่านระบบ Fleet Card แทนการเหมาจ่าย ส่งผลให้มีข้อมูลการใช้น้ำมันปี 66 สูงขึ้น ทำให้การบริโภคน้ำมัน ลิตร/ยอดขาย เพิ่มขึ้น 47.15% การใช้น้ำมันเพิ่มขึ้น 3,010.57 ลิตร/เดือน หรือ 36,126.83 ลิตร/ปี คิดเป็นเพิ่ม 98,998.35 Kg.CO2e ต่อปี
ประเภทขนส่ง | Intensity Target (Kg.CO2e) | Intensity Actual (Kg.CO2e) |
---|---|---|
ขนส่งอุปกรณ์ตกแต่งร้าน | (4,500) | (4,847.40) |
ขนส่งวัตถุดิบ | (8,000) | (8,179.56) |
กระจายสินค้าสำเร็จรูป | (41,500) | (41,733.45) |
ฝ่ายบุคคล | (10,000) | (12,317.82) |
LPG ในการย้อมวัตถุดิบ | (10,000) | (13,533.66) |
รวม ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก | >(74,000) | >(80,611.69) |
หมายเหตุ: เปิดเผยข้อมูลตามกรอบ GRI 305-1 การปล่อย GHG ดังนั้น ปี 2566 ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการใช้เชื้อเพลิงได้ตามเป้าหมาย Intensity ที่ 80.61 Ton CO2e
ควบคุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจก
ควบคุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการใช้เชื้อเพลิงต่อหน่วยในกิจกรรมการขาย
การบริหารและปรับปรุงการดำเนินงานในปี 2566 มีการปรับเปลี่ยนการจ่ายค่าน้ำมันฝ่ายขายผ่านระบบ Fleet Card แทนการเหมาจ่าย ส่งผลให้มีข้อมูลการใช้น้ำมันปี 66 สูงขึ้น ทำให้การบริโภคน้ำมัน ลิตร/ยอดขาย เพิ่มขึ้น 47.15% การใช้น้ำมันเพิ่มขึ้น 3,010.57 ลิตร/เดือน หรือ 36,126.83 ลิตร/ปี คิดเป็นเพิ่ม 98,998.35 Kg.CO2e ต่อปี
ปี | ยอดขาย | ยอดขาย / เดือน | การบริโภคน้ำมัน/เดือน | ลิตร/ยอดขาย | เพิ่มการใช้น้ำมัน/เดือน | ลดการใช้น้ำมัน/2566 |
---|---|---|---|---|---|---|
2565 | 3,158,059,783 | 263,171,649 | 6,385 | 0.000024 | 3.010.57 | 36,126.83 |
2566 | 3,431,579,868 | 285,964,989 | 10,210 | 0.000036 | ||
%(22:23) | 8.66% | |||||
หมายเหตุ : เปิดเผยข้อมูลตามกรอบ GRI 305-1 การปล่อย GHG ทางตรง | Kg.CO2e | 98,998.35 |
การจัดการพลังงานไฟฟ้า
การขยายตัวของอุตสาหกรรมทำให้การใช้พลังงานไฟฟ้าเพิ่มขึ้น ส่งผลให้เกิดภาวะโลกร้อน และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) ที่เป็นอันตราย เช่น ภัยแล้ง พายุฝน และน้ำท่วม รวมทั้งการปรับเพิ่มขึ้นของราคาพลังงานไฟฟ้า ทำให้ต้นทุนสินค้าปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง บริษัทจึงกำหนดเป้าหมายในการจัดการพลังงานไฟฟ้าให้เกิดประโยชน์สูงสุด รวมทั้งพัฒนาการใช้พลังงานทดแทนให้เป็นไปตามกระบวนทัศน์ “การพัฒนาที่ยั่งยืน” (Sustainable Development Goals–SDGs) ในข้อที่ 7 Affordable and clean energy
ทั้งนี้ บริษัทกำหนดเป้าหมายระยะยาว 5 ปี ในการลดปริมาณการใช้พลังงานไฟฟ้าเพื่อการผลิต 1 ใน 3 นับจากปี 2562 ซึ่งมีปริมาณการใช้ไฟฟ้าเพื่อการผลิต 5,798,536 KW. โดยมีเป้าหมายปรับลด 33% หรือในปี 2567 จะต้องมีปริมาณการใช้ไฟฟ้าเพื่อการผลิต ไม่เกิน 3,885,019 KW.
เป้าหมายการดำเนินงาน ปี 2566
สรุปผลการดำเนินงาน การจัดการพลังงานไฟฟ้า ปี 2566
การใช้ไฟฟ้า
ภาพรวมการใช้ไฟต่อหน่วยผลิตแผนกโมลด์ฟอง แผนกตัด แผนกเย็บและแพ็ค สามารถปรับลดการใช้ไฟต่อหน่วยผลิตลดลง 22.22%
ผลิตลดลง
ลดการใช้พลังงานไฟฟ้า
จากผลการดำเนินงานด้านการใช้ไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนโดยผลของการดำเนินงานในปีนี้จะใช้ไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนลดลงจากปีที่แล้ว อยู่ที่ 2.72% ซึ่งมีประสิทธิภาพการใช้ไฟฟ้า/หน่วยผลิตในภาพรวมดีขึ้น 22.22%
ทั้งนี้ได้ขยายผลการบริหารจัดการพลังงานไฟฟ้าในพื้นที่จุดขาย (เฉพาะจุดขาย Stand Alone)
การใช้พลังงานไฟฟ้าในปี 2566
การบริหารจัดการน้ำ
น้ำเป็นทรัพยากรที่มีสำคัญต่อการดำรงชีวิตและการดำเนินกิจกรรมต่างๆ บริษัทจึงมุ่งมั่นที่จะส่งเสริมการเข้าถึงน้ำสะอาดเพื่อการอุปโภคบริโภคของพนักงานในองค์กร และมีระบบสุขาภิบาลที่ดี นอกจากนี้บริษัท ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการใช้น้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุด จึงมุ่งมั่นที่จะบริหารจัดการ การใช้น้ำในองค์กร รวมทั้งควบคุมดูแลจัดการน้ำทิ้งที่ปล่อยออกจากโรงงาน เพื่อไม่สร้างผลกระทบทางลบแก่ชุมชนรอบข้าง ซึ่งเป็นไปตามกระบวนทัศน์ “การพัฒนาที่ยั่งยืน” (Sustainable Development Goals-SDGs) ข้อ 6 การจัดการน้ำและสุขาภิบาล
เป้าหมายการดำเนินงาน ปี 2566
น้ำดื่มสะอาด
บริหารจัดการประสิทธิภาพการใช้น้ำ
การใช้น้ำรวมขององค์กร
ควบคุมดูแลจัดการน้ำทิ้ง
ผลการดำเนินงาน ปี 2566
การตรวจสอบคุณภาพน้ำดื่ม
บริษัทดำเนินการตรวจสอบคุณภาพน้ำดื่มเป็นประจำทุกปี ซึ่งมีผลการตรวจสอบคุณภาพน้ำดื่มประจำปี 2566 ดังนี้
สาขา | การตรวจสอบคุณภาพน้ำดื่ม | ||
---|---|---|---|
วันที่ตรวจสอบ | หน่วยงาน | ผล | |
สาย 5 | 26/04/2566 | คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร นครปฐม | ผ่าน |
ท่าพระ | 19/06/2566 | บริษัท สไมล์ แล็บบอราทอรี่ จำกัด | ผ่าน |
ชัยนาท | 30/05/2566 | บริษัท เทสท์เทค จำกัด | ผ่าน |
ยโสธร | 22/06/2566 | บริษัท สไมล์ แล็บบอราทอรี่ จำกัด | ผ่าน |
บุรีรัมย์ | 28/04/2566 | ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 9 นครราชสีมา | ผ่าน |
สำนักงาน | 26/06/2566 | บริษัท โนวา วอเตอร์ (ไทยแลนด์) | ผ่าน |
นอกจากนี้ได้ดูแลระบบสุขาภิบาล ให้เพียงพอสำหรับพนักงานทุกคน ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตราฐาน 6 % ดังนี้
นอกจากนี้ได้ดูแลระบบสุขาภิบาล ให้เพียงพอสำหรับพนักงานทุกคน ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตราฐาน 6 % ดังนี้
พนักงานชาย (คน)
ห้องน้ำชาย (ห้อง)
สัดส่วน %
พนักงานหญิง (คน)
ห้องน้ำหญิง (ห้อง)
สัดส่วน %
อัตราการใช้น้ำต่อคนเฉลี่ย
ในปี 2566 มีอัตราการใช้น้ำต่อคนเฉลี่ยที่ 3.16 ลบม. ซึ่งลดลงเล็กน้อยจากอัตราการใช้น้ำเฉลี่ยต่อคน 3.18 ลบม ในปี 2565 ทั้งนี้อัตราการใช้น้ำเฉลี่ยต่อคนของโรงงานสาขาพุทธมณฑลสาย 5 และสำนักงานใหญ่มีอัตราเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ซึ่งจะดำเนินการแก้ไขปรับปรุงต่อไป
อัตราการใช้น้ำต่อคนเฉลี่ย
ปริมาณการใช้น้ำขององค์กร
ในปี 2566 มีปริมาณการใช้น้ำขององค์กรเป็นจำนวน 98,995 ลบ.ม เพิ่มขึ้นจากปี 2565 ซึ่งมีจำนวน 93,605 ลบ.ม หรือเพิ่มขึ้น 6% โดยมีการแบ่งเป็นการใช้น้ำประปา ในปี 2565 และ 2566 อยู่ที่ 25,897.75 และ 29,847.75 ลบ.ม และเป็นการใช้น้ำบาดาล อยู่ที่ 67,707.25 และ 69.147.25 ลบ.ม ทำให้บรรลุเป้าหมายการใช้น้ำรวมขององค์กรเพิ่มขึ้นไม่เกิน 8% ทั้งนี้โรงงานสาขาพุทธมณฑลสาย 5 มีการใช้น้ำเพิ่มขึ้นมากที่สุด อย่างไรก็ตามโครงการพัฒนาการใช้น้ำหมุนเวียนและการใช้น้ำธรรมชาติร่วมกับน้ำประปา ได้ดำเนินการแล้วเสร็จในเดือนกันยายน 2566 ทำให้โรงงานสาขาพุทธมณฑล สาย 5 มีปริมาณการใช้น้ำลดลงในไตรมาสที่ 4/2566
ปริมาณการใช้น้ำขององค์กรเป็นจำนวน
บำบัดน้ำทิ้ง
จากการดำเนินมาตรการต่างๆเพื่อดูแลและบำบัดน้ำทิ้งก่อนปล่อยออกจากโรงงาน ทำให้ผลการตรวจวัดสารเคมีตกค้างจากตัวอย่างน้ำทิ้งของบริษัท เป็นไปตามมาตรฐานที่กฎหมายกำหนดทุกค่าในแต่ละเดือน
การบริหารจัดการของเสีย
ขยะมูลฝอยทำให้เกิดปัญหาต่อสภาพแวดล้อมในการทำงาน ส่งกลิ่นรบกวนเป็นแหล่งเกิดเชื้อโรคและอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของพนักงาน และชุมชนรอบข้าง รวมทั้งการกำจัดขยะฝังกลบทำให้เกิดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ( 1 Kg. = 0.842 Kg.Co2 ) ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสภาพการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ ( Climate Change) บริษัทจึงตระหนักถึงความสำคัญในการบริหารจัดการของเสีย และเป็นความรับผิดชอบต่อการดำเนินงานของบริษัท ทั้งนี้ขยะหรือของเสียในองค์กร แบ่งเป็น ขยะที่เกิดจากคน และขยะที่เกิดจากกระบวนการผลิต เช่น เศษผ้า เศษฟอง ด้าย ยาง โดยมีการเดินทางของขยะ (Waste Flow) ดังนี้
เป้าหมายการดำเนินการ ปี 2566
ผลการดำเนินงาน ปี 2566
เป้าหมายขยะฝังกลบ
ลดปริมาณขยะฝังกลบ
ขยะฝังกลบ 1 กิโลกรัม ปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ 0.842 Kg.CO2 | 2564 | 2565 | 2566 |
---|---|---|---|
รวมขยะฝังกลบ (กิโลกรัม) | 143,783 | 131,058 | 112,913 |
อัตราการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (K.g.CO2) | 121,065 | 110,351 | 95,073 |
% ปรับลดเทียบต่อปี | (14%) | (9%) | (14%) |
ทั้งนี้เมื่อเทียบกับปี 2565 บริษัทปรับลดปริมาณขยะฝังกลบ และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลง คิดเป็น 14 % |
ขยะฝังกลบ
ลดปริมาณขยะฝังกลบ เทียบยอดขาย
ขยะฝังกลบ 1 กิโลกรัม | 2564 | 2565 | 2566 |
---|---|---|---|
รวมขยะฝังกลบ (กิโลกรัม) | 143,783 | 131,058 | 112,913 |
ยอดขาย (ล้านบาท) | 2,656 | 3,186 | 3,431 |
% เทียบยอดขาย | 0.0058 | 0.0041 | 0.0033 |
% เทียบปี | (6%) | (24%) | (21%) |
ปริมาณขยะฝังกลบเมื่อเทียบกับยอดขายปี 2566 บริษัทปรับลดปริมาณขยะฝังกลบ คิดเป็น 21% |
ขยะ RECYCLE
บริหารจัดการให้ขยะขององค์กรมีสัดส่วน RECYCLE
ปริมาณขยะ (กิโลกรัม) ปี 2566 | |||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|
ประเภทขยะ | สำนักงานใหญ่ | ท่าพระ | สาย5 | ชัยนาท | ยโสธร | บุรีรัมย์ | รวม |
ขยะที่เกิดจากคน | 15,432.00 | 27,368.95 | 24,990.29 | 17,354.77 | 20,326.46 | 13,918.77 | 119,391.24 |
ขยะที่เกิดจากกระบวนการผลิต | 8,567.04 | 16,353.29 | 402,879.00 | 26,465.57 | 109,534.70 | 9,558.19 | 573,357.79 |
รวม | 23,999.04 | 43,722.24 | 427,869.29 | 43,820.34 | 129,861.16 | 23,476.96 | 692,749.03 |
หมายเหตุ : เปิดเผยข้อมูลตามกรอบ GRI 306-2 ประเภทของเสียและวิธีการกำจัด
ไม่มีข้อร้องเรียน จากชุมชน เรื่อง ผลกระทบจากปัญหาขยะ
ไม่มีข้อร้องเรียน จากชุมชน เรื่อง ผลกระทบจากปัญหาขยะ สรุปผลการสำรวจชุมชนในเรื่องผลกระทบจากการดำเนินงานของบริษัท ในโรงงานสาขาท่าพระ, พุทธมณฑลสาย 5, ชัยนาท และยโสธร พบว่าชุมชนไม่ได้รับผลกระทบ หรือได้รับผลกระทบเล็กน้อย ซึ่งโรงงานสาขาสามารถดำเนินการแก้ไขได้
การบริหารจัดการผลิตภัณฑ์
ในขณะที่อุตสาหกรรมแฟชั่น เป็นอุตสาหกรรมที่สร้างผลกระทบด้านลบต่อสิ่งแวดล้อมมากเป็นอันดับ 2 ของโลก ซาบีน่าผู้ผลิตและจัดจำหน่ายชุดชั้นในชั้นนำของประเทศไทย จึงมุ่งมั่นที่จะดำเนินธุรกิจแบบยั่งยืน โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้
เป้าหมายการดำเนินการ ปี 2566
ใช้วัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในการทำบรรจุภัณฑ์
ยูนิฟอร์มรักษ์โลก
ผลการดำเนินการ ปี 2566
ในปี 2566 ซาบีน่าสามารถสร้างผลิตภัณฑ์จากวัสดุที่ยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ได้ 7.17% จาก SKU ซึ่งสูงกว่าเป้าหมายที่กำหนดไว้ 5%
ผลิตภัณฑ์จากวัสดุที่ยั่งยืน
ใช้วัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในการทำบรรจุภัณฑ์ (Green Packaging)
โดยมีการดำเนินงาน 5 ประการ ดังนี้
- เปลี่ยนวัสดุกล่องบรรจุภัณฑ์ เป็นการเลือกใช้กระดาษที่ได้ผ่านการรับรองจาก FSC (Forest Stewardship Council) หรือ องค์การจัดการด้านป่าไม้ ซึ่งสามารถลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ทั้งหมดจำนวน 1,670 KgCO2e
- เปลี่ยนบรรจุภัณฑ์กล่องส่งของ และกล่องไปรษณีย์ เป็นกระดาษที่ได้ผ่านการรับรองจาก FSC (Forest Stewardship Council) ทำให้สามารถลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ประมาณ 494,096 Kg.CO2e
- เปลี่ยนป้ายแท็กสินค้า โดยเลือกใช้กระดาษที่ผ่านการรับรองจาก FSC (Forest Stewardship Council) และมีการ ”ลด” จำนวนป้ายสินค้าลง ทำให้สามารถช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ประมาณ 80,231 KgCO2e
- เปลี่ยน“ถุงพลาสติกที่ย่อยสลายยาก” เป็น “ถุงพลาสติก EDP” (Environmentally Degradable Plastics) เป็นพลาสติกย่อยสลายได้ในสภาวะแวดล้อมธรรมชาติ”
- เปลี่ยน “ถุงกระดาษ” เป็น “ถุงกระดาษนำกลับมาหลอมรีไซเคิล ซึ่งมีเนื้อกระดาษที่มีลักษณะเหนียว มีความยืดหยุ่นสูง และบาง ทำให้ใช้เยื่อกระดาษในการผลิตน้อยกว่ากระดาษที่หนาแต่ไม่เหนียว
ในปี 2566 ซาบีน่าปรับผ้าเสื้อเชิ้ตพนักงานเป็นผ้า TC220 เส้น ซึ่งมีส่วนผสม 65% Recycled polyester โดยเสื้อเชิ้ต 1 ตัว ทำจากพลาสติครีไซเคิล 165 กรัม ดังนั้นในปี 2566 ซึ่งมอบเสื้อเชิ้ตให้พนักงานจำนวน 3,062 ตัว จึงเท่ากับรีไซเคิลขวดพลาสติกขนาด 600 มล. ได้ประมาณ 40,000 ขวด
เสื้อเชิ้ตพนักงานจำนวน 3,062 ตัว เท่ากับรีไซเคิลขวดพลาสติกขนาด 600 มล.
New Life BRA CYCLE “โละบราเก่า…ไปเป็นพลังงานสะอาด”
บริษัท ซาบีน่า จำกัด (มหาชน) ในฐานะผู้นำธุรกิจผลิตและจัดจำหน่ายชุดชั้นในสำหรับสุภาพสตรี ซึ่งมีการพัฒนาสินค้าให้มีนวัตกรรมที่ทันสมัยอย่างต่อเนื่องเพื่อตอบโจทย์แต่ละความต้องการของลูกค้าทั้งในเรื่องดีไซน์และลักษณะการใช้งานที่มีความต้องการต่างกันในแต่ละโอกาส เรายังใส่ใจในกระบวนการจัดการกับผลิตภัณฑ์ที่เสื่อมสภาพแล้ว เพราะเราเชื่อว่า หลายๆ คนอาจจะประสบปัญหาอยากทิ้งชุดชั้นในเก่าที่เสื่อมสภาพแล้ว แต่ไม่แน่ใจว่าควรจะทิ้งที่ไหน และเมื่อทิ้งไปแล้วจะมีวิธีการจัดการที่ถูกต้องหรือไม่ ด้วยปัญหาเหล่านี้ SABINA จึงมีโครงการ “New Life BRA CYCLE โละบราเก่าไปเป็นพลังงานสะอาด” โดยจะเป็นการช่วยผู้บริโภคในการกำจัดชุดชั้นในเก่าที่เสื่อมสภาพอย่างถูกวิธี อีกทั้งยังเป็นจุดเริ่มต้นในความพยายามในการลดภาวะโลกร้อน และรับผิดชอบต่อปริมาณขยะที่เราได้สร้างเพิ่มขึ้นในระบบนิเวศน์
เป้าหมายการดำเนินการ ปี 2566
รณรงค์ให้ผู้บริโภค
จับมือพันธมิตร
ผลการดำเนินงาน ปี 2566
เป็นคนกลางในการกำจัดชุดชั้นในเก่า 15 ตัน ภายในปี 2566 จากการดำเนินงานที่ผ่านมา ผู้บริโภคได้สนใจเข้าร่วมโครงการบราโละ โดยส่งมอบชุดชั้นในเก่า เสื่อมสภาพที่ไม่ใช้แล้ว มาเปลี่ยนเป็นพลังงานสะอาด
เป็นคนกลางในการกำจัดชุดชั้นในเก่า
จำนวน 14.66 ตัน ซึ่งมีปริมาณลดลงจากปี 2565 เล็กน้อย โดยมีรายละเอียดตามตาราง
ปี | ชุดชั้นในเสื่อมสภาพ (ตัน) | เปลี่ยนเป็นพลังงานความร้อน | ทดแทนการใช้ถ่านหิน | ลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ |
---|---|---|---|---|
2565 | 15 ตัน | 331,200 เมกะจูล | 14,720 กิโลกรัม | 24,562 กิโลกรัม |
2566 | 14.66 ตัน | 323,710 เมกะจูล | 14,387 กิโลกรัม | 24,006 กิโลกรัม |
รวมสะสม | 29.66 ตัน | 654,910 เมกะจูล | 29,107 กิโลกรัม | 48,568 กิโลกรัม |
ทั้งนี้ปริมาณการโละชุดชั้นในเก่าในปี 2566 จำนวน 14.66 ตัน คิดเป็นการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ประมาณ 24,006 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์ รวมยอดสะสมตลอดโครงการ 2565 – 2566 สามารถลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เท่ากับ 48,568 kgCO2e
สรุปผลการดำเนินงานโดยร่วมมือกับพันธมิตร เพื่อขยายขอบเขตโครงการบราโละภายในห่วงโซ่อุปทาน ซึ่งมีเป้าหมาย 45 พันธมิตร ภายในปี 2566 สรุปพันธมิตรและหน่วยงานที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรมทั้งสิ้นจำนวน 54 พันธมิตร เพิ่มขึ้นจากปี 2565 ซึ่งมี 30 พันธมิตร คิดเป็นอัตราเพิ่มขึ้น 73.33%
พันธมิตรและหน่วยงานที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรมทั้งสิ้นจำนวน
การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก
บริษัทฯได้ตระหนักถึงการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่จะส่งผลทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิกาศ (Climate Change) อย่างรุนแรงในอนาคต และเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการดูแลรักษาสภาพภูมิอากาศ ทางบริษัทจึงได้ดำเนินการประเมิน Carbon Footprint for Organization : CFO เพื่อให้ทราบถึงปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่บริษัทได้ปล่อยออกจากการดำเนินงานธุรกิจ และมีการกำหนดแนวทางในการลดก๊าซเรือนกระจก บริษัทได้กำหนดกลยุทธ์ในการทำให้ก๊าซเรือนกระจกลดลง 40% ให้ได้ตามเป้าหมาย ภายในปี 2030 และสามารถดำเนินนโยบายความเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon Neutrality)ในปี 2050 ตาม(Sustainable Development Goals–SDGs) ในข้อที่ 9,13
สรุปผลก๊าซเรือนกระจกทุกโครงการ ปี2566
ผลเทียบเป้า
หน่วย : กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์
หมายเหตุ : เปิดเผยข้อมูลตามกรอบ GRI 305-5 ลดการปล่อย greenhouse gases หรือก๊าซเรือนกระจกทางอ้อม
โครงการจัดการความหลากหลายทางชีวภาพและพื้นที่ป่าไม้
ผู้บริหาร และพนักงานทุกระดับได้ตระหนักถึงความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ (Climate change) อาทิเช่น การขาดแคลนน้ำ น้ำท่วม น้ำแข็งขั้วโลกละลาย โรคระบาด ฯลฯ
ผลการดำเนินงาน ปี 2566
โครงการ “ปลูกต้นไม้และความหลากหลายทางชีวภาพ”
บริษัท ซาบีน่า จึงได้ริเริ่มโครงการปลูกต้นไม้เพิ่มเติมในพื้นที่ว่างของโรงงาน เพื่อให้เกิดการกักเก็บก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ลงสู่ต้นไม้และพื้นดิน และเพื่อการเพิ่มอากาศที่สะอาด รวมถึงการที่ผู้บริหารมุ่งมั่นที่จะให้บริษัทเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon neutrality) ในปี 2050 และส่งเสริมสนับสนุนการควบคุมอุณหภูมิโลกให้เพิ่มไม่เกิน 1.5 องศา
ผู้บริหารมุ่งมั่นที่จะให้บริษัทเป็นกลางทางคาร์บอน (Carbon neutrality) ในปี 2050 และส่งเสริมสนับสนุนการควบคุมอุณหภูมิโลกให้เพิ่มไม่เกิน
บริษัท ซาบีน่า จำกัด(มหาชน) สาขายโสธร โดยผู้บริหารและพนักงาน ได้ร่วมกับกรมทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดยโสธร เริ่มปลูกวันที่ 8/6/2566
ประเภทการปลูก (ยโสธร) | จำนวนต้นไม้ที่ปลูก | จำนวน CO2 ที่ลด KgCO2 |
---|---|---|
ปลูกเดิม (ในโรงงาน) | 357 | 491,410.00 |
ปลูกเดิม (นอกโรงงาน) | 539 | 140,583.98 |
ปลูกเพิ่ม (นอกโรงงาน) | 1,736 | 20,832 |
รวม | 2,632 | 652,825.98 |
และบริษัท ซาบีน่า จำกัด(มหาชน) ชัยนาท ผู้บริหารและพนักงานโรงงานได้ปลูกต้นไม้ ในพื้นที่
ทั้งนี้โดยรวมแล้วบริษัทฯ ได้มีปริมาณการดูดกลับต้นไม้ภายในโรงงาน อยู่ที่ 569,360 KgCO2 ตามใบประกาศ Carbon Footprint for Organization จาก องค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน)
ประเภทการปลูก (ชัยนาท) | จำนวนต้นไม้ที่ปลูก | จำนวน CO2 ที่ลด KgCO2 |
---|---|---|
ปลูกเดิม (ในโรงงาน) | 71 | 77,950.00 |
ปลูกเดิม (นอกโรงงาน) | 807 | 262,119.78 |
ปลูกเพิ่ม (นอกโรงงาน) | 754 | 9,048 |
รวม | 1,632 | 349,117.78 |
ทั้งนี้บริษัทฯต้องการให้การดำเนินงานด้าน สิ่งแวดล้อม และการจัดการก๊าซเรือนกระจก เป็นเรื่องสำคัญ และให้เป็นไปตามข้อกำหนดตามหลักสากล
โดยสามารถนำความรู้มาปรับใช้กับนโยบายบริษัทได้ บริษัทฯจึงได้ส่งพนักงานเข้าอบรมตามหลักสูตรที่สำคัญต่างๆทั้งหน่วยงานรัฐและเอกชน
ทั้งนี้ได้ส่งนายสิทธิพงษ์ บ่อทรัพย์ เข้าอมรมหลักสูตรต่างๆที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม และการจัดการก๊าซเรือนกระจก เพื่อให้สามารถนำมากำหนดแนวทางการปฎิบัติงานการจัดการก๊าซเรือนกระจกให้สอดคล้องกับหลักสากลได้